วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ การจัดการข้อมูล
๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ที่สุดตามลำดับต่อไปนี้
๑.๑ บิต คือ หน่วยข้อมูลฃที่เล็กที่สุด เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
๑.๒ อักขระ กลุ่มของบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระ ASCII 1 ไบต์(8 บิต) แทนตัวอักษร 1 ตัว ๑.๓ ไบต์ กลุ่มของบิตที่มีขนาด ๘ บิต เท่ากับ ๑ ไบต์
๑.๔ ฟิลด์ เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
๑.๕ เรกคอร์ด ประกอบด้วยฟิลด์ หลายๆฟิลด์ที่เกี่ยวข้องรวมกันเป็นข้อมูลแต่ละแถว
๑.๖ ไฟล์ ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
๑.๗ ฐานข้อมูล กลุ่มของตาราง (และความสัมพันธ์)
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น ๕ ประเภท
๑. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
๒. แฟ้มรายงาน คือแฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับเก็บประเภทรายงาน ที่จัดเก็บในรูปแบบของไฟล์เอกสาร การจัดเก็บข้อมูลประเภทรายงานนั้นสามารถเนรียกดูผ่านทางจอภาพได้
๓.แฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดแลฃะเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๔.แฟ้มข้อมูลชั่วคราว คือ แฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแฟ้มข้อมูลหลัก
๕. แฟ้มข้อมูลสำรอง คือการทำข้อมูลซ้ำข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรมในสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ
๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบ ลักษณะการประมวลผลแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
-การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นวิธีการประมวลผลซึ่งจะกำหนดช่วงเวลาในการรวบรวมข้อมูล เมื่อไดข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลไปประมวลผลรวมกัน
-การประมวลผลแบบทันที เป็นวิธีที่ต้องการผลลัพธ์ทันที วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงข้อมูลให้ระบบเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
การเลือกลักษณะการประมวลผลข้อมูลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศในงานแต่ละงาน
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ โครงสร้างข้อมูลมี ๓ ประเภท มีความแตกต่างกันดังนี้
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเป็นโครงสร้างที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด จะถูกบันทึกแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง เวลาดูข้อมูต้องดูตั้งแต่หน้าแรก
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม เป็นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียเวลาอ่านข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก
-โครงสร้างข้อมูลแบบลำดับดรรชนี ก็คือจะเป็นการรวมเอาความสามารถของโครงสร้างข้อมูลสองอันแรกรวมเข้าด้วยกัน
โดยวิธีการหาข้อมูลจะนำคีย์ฟิลด์มาค้นหาจาก ดัชนีบางส่วนที่เก็บค่าต่ำสุด หรือค่าสูงสุดแต่ละบล็อกไว้
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลจะมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายในแต่ละหน่วยงานที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับประมวลผลการทำงานด้านต่างๆ แต่ ระบบฐานข้อมูล เป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลาง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ ในการที่เราต้องทำข้อมูลสำรองนั้นเพราะ เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล โดยที่สำรองข้อมูลใส่อุปกรณ์สำรองข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้
โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูลมาใช้ คือ แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์สำหรับพกพา
ในการเลือกอุปกรณ์สำรองข้อมูลนั้นดูจากประเภทข้อมูลและปริมาณข้อมูล
บทที่ 7การจัดการข้อมูล
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบปฏิบัติการ
๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ระบบปฏิบัติการหมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใชสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ มี ๓ หน้าที่หลัก
๑.การติดต่อกับผู้ใช้
การบูตเครื่องเป็นกระบวนการแรก เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงานเป็นขั้นตอนการโหลดโปรแกรมระบบปฏิบัติการไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม ดังนั้น โปรแกรมหรือชุดคำสั่งแรกที่จะถูกติดตั้งลงไปในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ มิเช่นนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะไมสามารถเปิดใช้งานได้ การบูตเครื่องประกอบด้วย ๒ สถานะคือ
- cold boot คือการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมฯนั้นยังปิดอยู่
- warm boot คือการเปิดเครื่องคอมฯนั้นขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมนั้นเปิดใช้งานอยู่
๑.๑ ประเภทคอมมานดืไลน์ เป็นลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษรที่รูปแบบของคำสั่งลงไปเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการที่ละบรรทัดคำสั่ง
๑.๒ ประเภทกราฟิก เป็นการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ มาใช้ในการสั่งงาน รูปแบบของระบบนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งเพียงเลือกรายการคำสั่ง ผ่านทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
๒.การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออีกหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกัน อุปกรณ์เหล่านี้มีความแตกต่างกันดังนั้นระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆช่วยจัดการให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้
๓.การจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ
ระบบปฏิบัติการช่วยจักสรรทรัพยากรระบบที่มีเหลืออยู่อย่างจำกัดให้สามารถทำงานหลายๆงานได้ ทรัพยากรหลักๆ ได้แก่ ทรัพยากรด้านโพรเซสเซอร์ ด้านหน่วยความจำ ด้านอุปกรณ์นำเข้า/แสดงผล และข้อมูล
๒. จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ประเภทของระบบปฏิบัติการ อาจแบ่งได้ออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่เพียงผู้เดียว ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น DOS(Disk Operating System) Windows XP,Windows Vista เป็นต้น
๒.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบการทำงานแบบ multi-user ใช้สำหรับการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือหน่วยงานทัวๆไป โดยการติดตั้งระบบปฏิบัติการชนิดนี้จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายแบบไคลแอนท์เซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งระบบปฏิบัตการไว้ที่เครื่องเซร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้แต่ละคนภายในระบบ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Unix Linux, Windows Server Solaris เป็นต้น
๓.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาทั่วๆไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณืสื่อสาร บันทึกข้อมูล ดูหนัง ฟังเพลงและ เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Pocket PC OS, Plam OS
ตอบ แบ่งเป็น ๕ องค์ประกอบดังนี้
๑.การจัดการไฟล์ เป็นการเก็บข้อมูลในสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ การจัดเก็บข้อมูลใดๆจะต้องระบุชื่อไฟล์และส่วนขยาย
-ชื่อไฟล์ ในยุคแรกๆ นั้นจะใช้ระบบปฏิบัตการประเภทคอมมานด์ไลน์ การตั้งชื่อไฟล์จะใช้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ในปัจจุบันจะสามารถตั้งชื่อไฟล์ได้มากถึง ๒๕๖ อักขระ สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
-ส่วนขยาย เป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการทราบได้ว่าเป็นไฟล์ชนิดใดต้องใช้โปรแกรมใดในการเปิดอ่านข้อมูลเหล่านั้น ส่วนขยายจะประกอบด้วยอักษรไม่เกิน ๔ ตัว
๒.การจัดการหน่วยความจำ การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จะต้องอ่านข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ยังหน่วยความจำหลักประเภทแรก ก่อนที่จะทำการประมวลผล เมื่อมีข้อมูลปริมาณมากหรือมีการทำงานหลายๆโปรแกรมพร้อมกัน ทำให้พื้นที่ของหน่วยความจำแรมไม่เพียงพอสำหรับการประมวลผลข้อมูล ระบบปฏิบัติการจึงสร้างหน่วยความจำเสมือน โดยใช้เนื้อที่จากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล เมื่อนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดโดยเฉพาะ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นได้ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีมากมายหลายรุ่น จึงมีวิธีสั่งงานที่แตกต่างกัน
๔.การจักการกับหน่วยประมวลผลกลาง ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆงานพร้อมกันได้ที่เรียกว่า "multi-tasking" แต่ในความจริงแล้ว ซีพียูสามารถทำงานได้ครั้งละคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องจัดแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลงานต่างๆเหล่านั้น โดยทำงานสลับไปมาระหว่างงานแต่ละงานได้ แต่เนื่องจากซีพียูสามารถประมวลผลได้เร็ว จึงทำให้ผู้ใช้มองเหมือนว่าซีพียูสามารถทำงานได้หลายๆงานได้พร้อมกัน การแบ่งเวลาในการประมวลผลข้อมูลจาก ซีพียู ออกเป็นส่วนๆเพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคน
๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ ภายในระบบปฏิบัติการมีการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในระดับหนึ่งโดยการกำหนดขั้นตอนการ log on เพื่อตรวจสอบสิทธิของผู้ที่เข้าไปใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้รหัสผ่าน เมื่อมีผู้ใช้ขอ log on เข้าไปในระบบ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์รหัสผ่านเพื่อให้ระบบปฏิบัติการนำไปตรวจสอบรหัสผ่านที่ได้ทำการบันทึกไว้กับระบบ ถ้าถูกต้องระบบจะอนุญาตให้บุคคลคนนั้นเข้าไปใช้งานได้
๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ
๑.ดอส > เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันดีสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในอดีต การทำงานจะใช้วิธีการพิมพ์ชุดคำสั่งแบบคอมมานไลน์
๒.วินโดวส์ (windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่แบางการทำงานออกเป็นส่วนๆและการปฏิบัติงานของ windows ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันได้ โดยใช้รูปแบบคำสั่งแบบกราฟิก โดยใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
๓.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและระบบปฏิบัติการ unix เป็นระบบที่เป็นเทคโนโลยีเปิด เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง
๔.ลินุกส์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์สาวนบุคคลได้ เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ประเภทแจกฟรี
๕.แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานเฉพาะด้าน ได้แก่ งานด้านกราฟิก การออกแบบ และสิ่งพิมพ์
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP เป็นระบบที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า ส่วน OEM จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กรหรือห้างร้าน ที่ไม่ต้องการยุ่งยาก กับการใช้ซอฟต์แวร์ในการติดตั้งและหาไดรเวอร์ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน
ในการเลือกซื้อคิดว่าซื้อแบบ OEM ดีกว่า เพราะไม่ต้องมาลง driver เอง
๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ อาจทำให้ผู้บริโภคบางคนบางกลุ่มนั้นเกิดความไม่พอใจ เพราะอาจจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แพง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าลิขสิทธ์เพื่อที่จะสามารถนำ windows มาใช้งานได้ ถ้าไม่ยอมเสียจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้ วิธีหลีกเลี่ยง ก็คงจะต้องเป็นการแอบเอามาลงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีและผิดกฎหมายด้วย
๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต
ตอบ เราควรที่จะสนับสนุนซอฟต์แวร์ที่คนไทยได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อคนไทยเอง ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นก็เพื่อที่นำไปพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าซอฟต์แวร์ที่คนไทยพัฒนาขึ้นนั้น ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก การนำมาใช้งานก็ยังไม่คุ้นเคย เราควรที่หันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่คนไทยร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจผู้พัฒนาซอฟแวร์ไทย และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อพัฒนาประเทศในยุคไอทีด้วย
บทที่ 6 ระบบปฏิบัติการ
จัดทำโดย
นายภควัตร ภูคำศักดิ์ เลขที่ 7
นางสาวชฎาภรณ์ ชนะนอก เลขที่ 16
นางสาวเมธาวี สาบไธสง เลขที่ 29ชั้น ม4/1
เสนอ
อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟต์แวร์
๑. บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ ซอฟต์แวร์หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์
๑.ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ที่ใช้กับเครื่องคอมฯ ที่ใช้บริการคนเดียว
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ใช้รองรับการทำงานของระบบบคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ใช้กับคอมฯ ชนิดพกพาทั่วๆไป
๑.๒ โปรแกรมอรรถประโยชน์ คือ โปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์
๒.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามจุดประสงค์ของผู้ใช้การพัมนาโปรแกรมสำหรับนำไปใช้ในการทำงานแบ่งเป็น ๒ ประเภท
๒.๑ โปรแกรมสำหรับงานเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน และพัฒนาตามความต้องการของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน
๒.๒ โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมในเชิงพาณิชย์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้เจาะจงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า
ตอบ การเขียนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งได้นั้นจะต้องทำการแปลชุดคำสั่งจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้
๑.แอสแซมเบลอร์
เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์เขียนขึ้นโดยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้
๒.อินเตอร์พลีเตอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง โดยวิธีการแปลความหมายในรูปของอินเตอร์พลีเตอร์ การอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที
แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้ในครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้าจึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก
๓.คอมไพเลอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมระดับสูง เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกันสำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่งที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ให้นักเรียนหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยหาความหมายของคำว่า"Open Source" และบอกซอฟต์แวร์โอเพนซอฟต์ที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, เว็บเซิร์ฟเวอร์
๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ +Cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร(font)
คุณสมบัติ
ง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมก็จะดึงFont ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู
๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
ตอบ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
- Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
- Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆShare ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
- Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์ Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
- Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขายFree ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
- Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ
๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ใน
การเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ในการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ในสถานศึกษานั้นมีความต้องการให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นรู้จักซอฟต์แวร์ต่างๆมากขึ้น ดังเป็นการช่วยเสริมความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านนี้บ้าง แต่การที่เราจะนำมาใช้ในการ้รียนการสอนนั้น เราต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพื่อเป็นการตอบแทนแลกเปลี่ยนให้กับผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น
บทที่ 5 ซอฟต์แวร์
จัดทำโดย
นายภควัตร ภูคำศักดิ์ เลขที่ 7
นางสาวชฎาภรณ์ ชนะนอก เลขที่ 16
นางสาวเมธาวี สาบไธสง เลขที่ 29
ชั้น ม4/1
เสนอ
อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
การเปรียบเทียบต้นไม้กับคน
ด้านต่าง: ต้นไม้นั้นถึงจะมีการดำรงเผ่าพันธุ์เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(การเพาะเมล็ด การแตกหน่อ) แต่คนเรานั้นดำรงเผ่าพันธุ์โดยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
มนุษย์สามารถเคลื่อนที่ได้ตามใจชอบ แต่ต้นไม้นั้นไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่เองได้
วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553
การเปรียบเทียบต้นไม้กับคน
ด้านเหมือน : ต้นไม้ก็เหมือนกันกับคนเพราะมีชีวิต มีการเจริญเติบโต ราก ก็เสมือนมือ เสมือนปากคอยกินอาหารเพื่อเลี้ยงชีพของตน ผลและเมล็ดของพืช ก็เปรียบเสมือนคนเรามีการสืบพันธ์ เพื่อดำรงเผ่าพันธ์ ให้คงอยู่ ต้นไม้กับคนที่เหมือนกัน อีกประการหนึ่งก็คือ มีการเกิดการตาย เมื่อดอกไม้มีเบ่งบานและเหี่ยวเฉา ฉันใด ชีวิตมนุษย์ก็เป็นฉันนั้น เช่น ต้นไม้ใบไม้ที่มีหนอน มีเพี้ย กัดกิน ก็จะไม่ทนทานอยู่ได้ ชีวิตมนุษย์ ก็เป็นเช่นกัน เมือมีโรคก็ย่อมไม่สามารถอยู่ได้
การดองกล้วยน้ำว้า
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร
ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร
เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร
ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม
…………………………………………………………………..
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า
7-30240-001-029/1
ชื่อพื้นเมือง กล้วยน้ำว้า
กล้วยกะลิอ่อง กล้วยมะนิอ่องมะลิ อ่อง (เงี้ยว ภาคเหนือ)
กล้วยไข่ กล้วยใต้ กล้วยส้ม
กล้วยหอม (ภาคเหนือ)
กล้วยนาก (กรุงเทพ)
กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือ
กล้วยหอมจันทร์
กล้วยหักมุก (ภาคกลาง)
เจก (เขมร จันทบุรี)
ยาไข่ สะกุย (กะเหรี่ยง จันทบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ชื่อสามัญ Banana , Cultivated banana
ประโยชน์ ผลสุกกินได้เลยหยวก หยวกกล้วยใช้ทำอาหาร ใบใช้ห่อข้าวต้ม ห่อหมก
สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
st1\:*{behavior:url(#ieooui) }
ลักษณะวิสัย เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 5 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 3 เมตร รูปร่างทรงพุ่ม ทรงกระบอก ลำต้น เป็นลำต้นใต้ดิน เป็นแง่งหรือ เหง้า ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 45 เซนติเมตร ยาว 118 เซนติเมตร ใบเขียวเป็นแผ่นยาว มียางใส ใบเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ดอก ดอกห้อยย้อยลงมาเป็นช่อยาวเรียกว่า หัวปลี ผล เป็นผลสด ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผลรูปรี
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า
สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้ กล้วยน้ำว้า รหัสพรรณไม้ 7-3240-001-029
สภาพนิเวศน์ อยู่บนบก กลางแจ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 5 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 3 เมตร รูปร่างทรงพุ่ม ทรงกระบอก ลำต้น เป็นลำต้นใต้ดิน เป็นแง่งหรือเหง้า ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน
ใบแก่สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 45 เซนติเมตร ยาว 118 เซนติเมตร ใบเขียวเป็นแผ่นยาว มียางใส ใบเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ
ดอก ดอกห้อยย้อยลงมาเป็นช่อยาวเรียกว่า หัวปลี ผล เป็นผลสด ผลอ่อนสีเขียวอ่อน
ผลแก่สีเขียวอมเหลือง ผลรูปรี
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์
BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดัง นั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM "แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ? เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้นแล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภทล่ะ ? โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ
1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์
2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุม โดย Control bus
อุปกรณ์แสดงผล
อุปกรณ์จัดเก้บข้อมุล
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
หน่วยรับข้อมูล (Input unit ) ทำหน้าที่ป้อนคำสั่งเข้าไป ซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เองเปรียบเสมือน การมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก อุปกรณ์ Input unit มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี 2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้นหน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) - เมาส์ (Mouse) - คีย์บอร์ด (Keyboard)
ภาพอุปกรณ์นำเข้าเมาส์ และคีย์บอร์ด
องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์
วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ฮาร์ดแวร์
รายวิชาคอมพิวเตอร์ ง30201
จัดทำโดย
นายภควัตร ภูคำศักดิ์ เลขที่ 7
นางสาวชฎาภรณ์ ชนะนอก เลขที่ 16
นางสาวเมธาวี สายไธสง เลขที่ 29
ชั้นม.4/1
เสนอ
นางสาวศิริพร วีระชัยรัตนา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN) - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้ - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่ - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ
ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์
การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้วนอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไปโดยส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้นการทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็วเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบ
จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ
เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร
ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้