วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ การจัดการข้อมูล
๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ที่สุดตามลำดับต่อไปนี้
๑.๑ บิต คือ หน่วยข้อมูลฃที่เล็กที่สุด เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
๑.๒ อักขระ กลุ่มของบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระ ASCII 1 ไบต์(8 บิต) แทนตัวอักษร 1 ตัว ๑.๓ ไบต์ กลุ่มของบิตที่มีขนาด ๘ บิต เท่ากับ ๑ ไบต์
๑.๔ ฟิลด์ เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
๑.๕ เรกคอร์ด ประกอบด้วยฟิลด์ หลายๆฟิลด์ที่เกี่ยวข้องรวมกันเป็นข้อมูลแต่ละแถว
๑.๖ ไฟล์ ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
๑.๗ ฐานข้อมูล กลุ่มของตาราง (และความสัมพันธ์)
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น ๕ ประเภท
๑. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
๒. แฟ้มรายงาน คือแฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับเก็บประเภทรายงาน ที่จัดเก็บในรูปแบบของไฟล์เอกสาร การจัดเก็บข้อมูลประเภทรายงานนั้นสามารถเนรียกดูผ่านทางจอภาพได้
๓.แฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดแลฃะเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๔.แฟ้มข้อมูลชั่วคราว คือ แฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแฟ้มข้อมูลหลัก
๕. แฟ้มข้อมูลสำรอง คือการทำข้อมูลซ้ำข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรมในสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ
๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบ ลักษณะการประมวลผลแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
-การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นวิธีการประมวลผลซึ่งจะกำหนดช่วงเวลาในการรวบรวมข้อมูล เมื่อไดข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลไปประมวลผลรวมกัน
-การประมวลผลแบบทันที เป็นวิธีที่ต้องการผลลัพธ์ทันที วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงข้อมูลให้ระบบเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
การเลือกลักษณะการประมวลผลข้อมูลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศในงานแต่ละงาน
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ โครงสร้างข้อมูลมี ๓ ประเภท มีความแตกต่างกันดังนี้
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเป็นโครงสร้างที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด จะถูกบันทึกแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง เวลาดูข้อมูต้องดูตั้งแต่หน้าแรก
-โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม เป็นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียเวลาอ่านข้อมูลตั้งแต่ตำแหน่งแรก
-โครงสร้างข้อมูลแบบลำดับดรรชนี ก็คือจะเป็นการรวมเอาความสามารถของโครงสร้างข้อมูลสองอันแรกรวมเข้าด้วยกัน
โดยวิธีการหาข้อมูลจะนำคีย์ฟิลด์มาค้นหาจาก ดัชนีบางส่วนที่เก็บค่าต่ำสุด หรือค่าสูงสุดแต่ละบล็อกไว้
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลจะมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายในแต่ละหน่วยงานที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับประมวลผลการทำงานด้านต่างๆ แต่ ระบบฐานข้อมูล เป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลาง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ ในการที่เราต้องทำข้อมูลสำรองนั้นเพราะ เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล โดยที่สำรองข้อมูลใส่อุปกรณ์สำรองข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้
โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูลมาใช้ คือ แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์สำหรับพกพา
ในการเลือกอุปกรณ์สำรองข้อมูลนั้นดูจากประเภทข้อมูลและปริมาณข้อมูล
บทที่ 7การจัดการข้อมูล
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบปฏิบัติการ
๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ระบบปฏิบัติการหมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใชสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ มี ๓ หน้าที่หลัก
๑.การติดต่อกับผู้ใช้
การบูตเครื่องเป็นกระบวนการแรก เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงานเป็นขั้นตอนการโหลดโปรแกรมระบบปฏิบัติการไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม ดังนั้น โปรแกรมหรือชุดคำสั่งแรกที่จะถูกติดตั้งลงไปในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ มิเช่นนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะไมสามารถเปิดใช้งานได้ การบูตเครื่องประกอบด้วย ๒ สถานะคือ
- cold boot คือการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมฯนั้นยังปิดอยู่
- warm boot คือการเปิดเครื่องคอมฯนั้นขึ้นมาใช้งานขณะที่เครื่องคอมนั้นเปิดใช้งานอยู่
๑.๑ ประเภทคอมมานดืไลน์ เป็นลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษรที่รูปแบบของคำสั่งลงไปเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการที่ละบรรทัดคำสั่ง
๑.๒ ประเภทกราฟิก เป็นการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ มาใช้ในการสั่งงาน รูปแบบของระบบนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งเพียงเลือกรายการคำสั่ง ผ่านทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
๒.การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออีกหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกัน อุปกรณ์เหล่านี้มีความแตกต่างกันดังนั้นระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆช่วยจัดการให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้
๓.การจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ
ระบบปฏิบัติการช่วยจักสรรทรัพยากรระบบที่มีเหลืออยู่อย่างจำกัดให้สามารถทำงานหลายๆงานได้ ทรัพยากรหลักๆ ได้แก่ ทรัพยากรด้านโพรเซสเซอร์ ด้านหน่วยความจำ ด้านอุปกรณ์นำเข้า/แสดงผล และข้อมูล
๒. จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ประเภทของระบบปฏิบัติการ อาจแบ่งได้ออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่เพียงผู้เดียว ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น DOS(Disk Operating System) Windows XP,Windows Vista เป็นต้น
๒.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบการทำงานแบบ multi-user ใช้สำหรับการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือหน่วยงานทัวๆไป โดยการติดตั้งระบบปฏิบัติการชนิดนี้จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายแบบไคลแอนท์เซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งระบบปฏิบัตการไว้ที่เครื่องเซร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้แต่ละคนภายในระบบ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Unix Linux, Windows Server Solaris เป็นต้น
๓.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาทั่วๆไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณืสื่อสาร บันทึกข้อมูล ดูหนัง ฟังเพลงและ เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ เช่น Pocket PC OS, Plam OS
ตอบ แบ่งเป็น ๕ องค์ประกอบดังนี้
๑.การจัดการไฟล์ เป็นการเก็บข้อมูลในสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ การจัดเก็บข้อมูลใดๆจะต้องระบุชื่อไฟล์และส่วนขยาย
-ชื่อไฟล์ ในยุคแรกๆ นั้นจะใช้ระบบปฏิบัตการประเภทคอมมานด์ไลน์ การตั้งชื่อไฟล์จะใช้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ในปัจจุบันจะสามารถตั้งชื่อไฟล์ได้มากถึง ๒๕๖ อักขระ สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
-ส่วนขยาย เป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการทราบได้ว่าเป็นไฟล์ชนิดใดต้องใช้โปรแกรมใดในการเปิดอ่านข้อมูลเหล่านั้น ส่วนขยายจะประกอบด้วยอักษรไม่เกิน ๔ ตัว
๒.การจัดการหน่วยความจำ การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จะต้องอ่านข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ยังหน่วยความจำหลักประเภทแรก ก่อนที่จะทำการประมวลผล เมื่อมีข้อมูลปริมาณมากหรือมีการทำงานหลายๆโปรแกรมพร้อมกัน ทำให้พื้นที่ของหน่วยความจำแรมไม่เพียงพอสำหรับการประมวลผลข้อมูล ระบบปฏิบัติการจึงสร้างหน่วยความจำเสมือน โดยใช้เนื้อที่จากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล เมื่อนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดโดยเฉพาะ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นได้ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีมากมายหลายรุ่น จึงมีวิธีสั่งงานที่แตกต่างกัน
๔.การจักการกับหน่วยประมวลผลกลาง ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆงานพร้อมกันได้ที่เรียกว่า "multi-tasking" แต่ในความจริงแล้ว ซีพียูสามารถทำงานได้ครั้งละคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องจัดแบ่งเวลาของซีพียู เพื่อประมวลผลงานต่างๆเหล่านั้น โดยทำงานสลับไปมาระหว่างงานแต่ละงานได้ แต่เนื่องจากซีพียูสามารถประมวลผลได้เร็ว จึงทำให้ผู้ใช้มองเหมือนว่าซีพียูสามารถทำงานได้หลายๆงานได้พร้อมกัน การแบ่งเวลาในการประมวลผลข้อมูลจาก ซีพียู ออกเป็นส่วนๆเพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคน
๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ ภายในระบบปฏิบัติการมีการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในระดับหนึ่งโดยการกำหนดขั้นตอนการ log on เพื่อตรวจสอบสิทธิของผู้ที่เข้าไปใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้รหัสผ่าน เมื่อมีผู้ใช้ขอ log on เข้าไปในระบบ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์รหัสผ่านเพื่อให้ระบบปฏิบัติการนำไปตรวจสอบรหัสผ่านที่ได้ทำการบันทึกไว้กับระบบ ถ้าถูกต้องระบบจะอนุญาตให้บุคคลคนนั้นเข้าไปใช้งานได้
๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ
๑.ดอส > เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันดีสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในอดีต การทำงานจะใช้วิธีการพิมพ์ชุดคำสั่งแบบคอมมานไลน์
๒.วินโดวส์ (windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่แบางการทำงานออกเป็นส่วนๆและการปฏิบัติงานของ windows ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันได้ โดยใช้รูปแบบคำสั่งแบบกราฟิก โดยใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
๓.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและระบบปฏิบัติการ unix เป็นระบบที่เป็นเทคโนโลยีเปิด เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง
๔.ลินุกส์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์สาวนบุคคลได้ เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ประเภทแจกฟรี
๕.แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานเฉพาะด้าน ได้แก่ งานด้านกราฟิก การออกแบบ และสิ่งพิมพ์
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP เป็นระบบที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า ส่วน OEM จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กรหรือห้างร้าน ที่ไม่ต้องการยุ่งยาก กับการใช้ซอฟต์แวร์ในการติดตั้งและหาไดรเวอร์ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน
ในการเลือกซื้อคิดว่าซื้อแบบ OEM ดีกว่า เพราะไม่ต้องมาลง driver เอง
๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ อาจทำให้ผู้บริโภคบางคนบางกลุ่มนั้นเกิดความไม่พอใจ เพราะอาจจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แพง แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าลิขสิทธ์เพื่อที่จะสามารถนำ windows มาใช้งานได้ ถ้าไม่ยอมเสียจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้ วิธีหลีกเลี่ยง ก็คงจะต้องเป็นการแอบเอามาลงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีและผิดกฎหมายด้วย
๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต
ตอบ เราควรที่จะสนับสนุนซอฟต์แวร์ที่คนไทยได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อคนไทยเอง ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นก็เพื่อที่นำไปพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าซอฟต์แวร์ที่คนไทยพัฒนาขึ้นนั้น ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก การนำมาใช้งานก็ยังไม่คุ้นเคย เราควรที่หันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่คนไทยร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจผู้พัฒนาซอฟแวร์ไทย และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อพัฒนาประเทศในยุคไอทีด้วย
บทที่ 6 ระบบปฏิบัติการ
จัดทำโดย
นายภควัตร ภูคำศักดิ์ เลขที่ 7
นางสาวชฎาภรณ์ ชนะนอก เลขที่ 16
นางสาวเมธาวี สาบไธสง เลขที่ 29ชั้น ม4/1
เสนอ
อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟต์แวร์
๑. บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ ซอฟต์แวร์หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์
๑.ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ที่ใช้กับเครื่องคอมฯ ที่ใช้บริการคนเดียว
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ใช้รองรับการทำงานของระบบบคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ใช้กับคอมฯ ชนิดพกพาทั่วๆไป
๑.๒ โปรแกรมอรรถประโยชน์ คือ โปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์
๒.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามจุดประสงค์ของผู้ใช้การพัมนาโปรแกรมสำหรับนำไปใช้ในการทำงานแบ่งเป็น ๒ ประเภท
๒.๑ โปรแกรมสำหรับงานเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน และพัฒนาตามความต้องการของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน
๒.๒ โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมในเชิงพาณิชย์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้เจาะจงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า
ตอบ การเขียนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งได้นั้นจะต้องทำการแปลชุดคำสั่งจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามคำสั่งได้ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้
๑.แอสแซมเบลอร์
เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์เขียนขึ้นโดยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้
๒.อินเตอร์พลีเตอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง โดยวิธีการแปลความหมายในรูปของอินเตอร์พลีเตอร์ การอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที
แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้ในครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้าจึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก
๓.คอมไพเลอร์
ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมระดับสูง เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกันสำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่งที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ให้นักเรียนหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยหาความหมายของคำว่า"Open Source" และบอกซอฟต์แวร์โอเพนซอฟต์ที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, เว็บเซิร์ฟเวอร์
๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ +Cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร(font)
คุณสมบัติ
ง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมก็จะดึงFont ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู
๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
ตอบ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
- Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
- Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆShare ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
- Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์ Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
- Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขายFree ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
- Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ
๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ใน
การเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ในการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ในสถานศึกษานั้นมีความต้องการให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นรู้จักซอฟต์แวร์ต่างๆมากขึ้น ดังเป็นการช่วยเสริมความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านนี้บ้าง แต่การที่เราจะนำมาใช้ในการ้รียนการสอนนั้น เราต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพื่อเป็นการตอบแทนแลกเปลี่ยนให้กับผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น
บทที่ 5 ซอฟต์แวร์
จัดทำโดย
นายภควัตร ภูคำศักดิ์ เลขที่ 7
นางสาวชฎาภรณ์ ชนะนอก เลขที่ 16
นางสาวเมธาวี สาบไธสง เลขที่ 29
ชั้น ม4/1
เสนอ
อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 2
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
การเปรียบเทียบต้นไม้กับคน
ด้านต่าง: ต้นไม้นั้นถึงจะมีการดำรงเผ่าพันธุ์เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(การเพาะเมล็ด การแตกหน่อ) แต่คนเรานั้นดำรงเผ่าพันธุ์โดยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
มนุษย์สามารถเคลื่อนที่ได้ตามใจชอบ แต่ต้นไม้นั้นไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่เองได้
วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553
การเปรียบเทียบต้นไม้กับคน
ด้านเหมือน : ต้นไม้ก็เหมือนกันกับคนเพราะมีชีวิต มีการเจริญเติบโต ราก ก็เสมือนมือ เสมือนปากคอยกินอาหารเพื่อเลี้ยงชีพของตน ผลและเมล็ดของพืช ก็เปรียบเสมือนคนเรามีการสืบพันธ์ เพื่อดำรงเผ่าพันธ์ ให้คงอยู่ ต้นไม้กับคนที่เหมือนกัน อีกประการหนึ่งก็คือ มีการเกิดการตาย เมื่อดอกไม้มีเบ่งบานและเหี่ยวเฉา ฉันใด ชีวิตมนุษย์ก็เป็นฉันนั้น เช่น ต้นไม้ใบไม้ที่มีหนอน มีเพี้ย กัดกิน ก็จะไม่ทนทานอยู่ได้ ชีวิตมนุษย์ ก็เป็นเช่นกัน เมือมีโรคก็ย่อมไม่สามารถอยู่ได้
การดองกล้วยน้ำว้า
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร
ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร
เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร
ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม
…………………………………………………………………..